วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

นวัตกรรมเครื่องสำอาง

นวัตกรรมใหม่ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตเครื่องสำอางได้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว มีการใช้สารเคมีและสารสกัดจากธรรมชาติชนิดใหม่ ๆ เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผลิตจากต่างประเทศ กองเครื่องสำอางและวัตถุอันตรายได้รวบรวมข้อมูล ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต่าง ๆ จากเว็บไซต์ของผู้ประกอบการผลิตแต่ละยี่ห้อ และนิตยสารต่าง ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการสืบค้นข้อมูลวิชาการที่เป็นปัจจุบันของสารสำคัญที่ใช้ เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทั้งที่นำเข้า และผลิตในประเทศ ดังรายละเอียดต่อไปนี้


1. เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติช่วยให้หน้าขาวใส



สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : OLIGO 25 (มีส่วนผสมของ Manganese และ Polyfructol ) Catabolic Complex, Conectrated Serum , Mexoryl SX , Merxoryl XL, สารสกัดจากดอก Edelweiss Complex , สารสกัดจากราสเบอรี่ , Bio 50D(hydrolyzed yeast) , สารสกัดจาก Ylang Ylang , Lemon , Cucumber , Pitera (Trade name) สารสกัดจากยีสต์ธรรมชาติ , Detox complex , Vitamin C Glucoside , Vitamin C Magnesium Phosphate , Vitamin C Gluconate และวิตามินซีบริสุทธิ์



2. เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติลดเซลล์สร้างสีผิว

สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : Mela-No Complex , Vitamin C Gluconate , Vitamin C Magnesium Phosphate , Lactic Acid , Glycolic Acid , Arbutin SL Effector , Detox complex , Mulberry Extract , Licorice Extract , Seaweed Extract



3. เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติบำรุงผิว ลบริ้วรอย กระชับหน้า


สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : Cytovitine yeast , Phytokine และคอลลาเจนสูตรเข้มข้น , Marine Bio Polymer Macro-collagen , Ginseng Extract , Essential Soy (สารสกัดจากโปรตีนถั่วเหลือง) , Retinol , Vitamin C , Antioxidant , White Ceramic Complex , Melannite ,สารสกัดจากยีสต์ , Japanese Unshiu Peel Extract , ไพโตพลัส (เป็นส่วนผสมของธรรมชาติ เช่น ต้นหม่อน องุ่น และสกุเทลลาเรีย) , AGR (Alpha Glucosylrutin) ลดริ้วรอยหมองคล้ำ , Vitamin E , Zincadone A (ลดปัญหารูขุมขมกว้าง) Octami oxyl (คือ Oxta peptide ของกรดอมิโน 8 ตัว เป็น Protein Complex ป้องกันการเกร็งตัวของใบหน้าและริ้วรอยเส้นเล็ก ๆ บนใบหน้า ช่วยให้เส้นลึกบนใบหน้าตื้นขึ้น) Seaweed คงความชุ่มชื่นชั้นไขมัน , Sesame , Sunflower , Almond และ Mango Butter สร้างสมดุลและซ่อมแซมผิว ลดรอยคล้ำ , Water-lily ป้องกันการเกิดริ้วรอยและความเสื่อมสภาพของผิว , Willowherb ช่วยถนอมผิว , สารสกัดจาก Boswelox Acid , Manganese , Glycerine , Biosaccharide Gum-1 , Lecithin , Serine , Glycine , Alanine , Disodium Phosphate , Potassium Phosphate , Aqua , Propylene Glycol , Ostsea(Oyster Shell Extract) , Maris Limus(Sea Silt Extract) , Cetearyl sononanoate , Cycolmethicone , C12-15 Alkyl benzoate , Cocoglycerides , Tapica Starcle , Glycerine Stearate , Ethylhexyl Cocoate , Methylproparudiol , Cetearyl Alcohol , Ethylhexyl Triazone , Hydrogenated Vegetable Oil , Pathenol Cera Alba , Creatine , Sodium Ascorbyl Phosphate , Ubiquinone , PEG - 40 Sterate Butylene glycol , Sodium Carbomer , Chondrus Crispus , Ginkgo และ Ursolic acid การผสมสารเปบไทด์ 2 ชนิดที่ได้จากกรดอะมิโนธรรมชาติ ได้แก่ Pentapeptide-3 (Matrixyl) ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและไพโปรเนคทินและ Hexapeptide-3 (Argireline) ช่วยลดการผลิต catecholamine ลดการหดเกร็งกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นสาเหตุของกล้ามเนื้อ ครีมเพื่อลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อหรือครีมโบท็อกซ์ (Botox-like Cream) ซึ่งชนิดที่ใส่ในครีมกับที่แพทย์ใช้รักษาเป็นคนละตัวกัน ในครีมจะใช้สารที่เรียกว่า Acetylhexapeptide 3 จะออกฤทธิ์ในการคลายกล้ามเนื้อเช่นเดียวกับการฉีดโบท็อกซ์และเชื่อว่าจะ สามารถลดเลือนริ้วรอยได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ภายใน 30 วันเมื่อทาติดต่อกัน อย่างไรก็ตามครีมเหล่านี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีริ้วรอยตื้นๆเท่านั้น (ฉลากข้างกล่องจะเขียนว่า Argeriline)

การค้นพบสารแอนตี้ออกซิแดนต์ตัวใหม่ชื่อ อีดีบีโนน (Idebenone) ซึ่งเป็นที่รู้จักในสมาคมแพทย์ผิวหนัง ที่อเมริกาและมีการยืนยันถึงประสิทธิภาพของสารตัวนี้ว่าจะเป็นสารต้านอนุมูล อิสระตัวใหม่ที่ ประสิทธิภาพดีกว่าวิตามินซีและอี โดยมีคุณสมบัติในการปกป้องเซลล์ผิวเสื่อมสภาพจากสภาพแวดล้อม ไม่ให้มาทำลายคอลลาเจนและอิลาสตินของเนื้อเยื่อผิว สารอีดีบีโนนเป็นสารสังเคราะห์ที่เดิมใช้ผสมในยา เพื่อรักษาอาการของโรคอัลไซเมอร์ ส่วนในรูปของเหลวแพทย์ได้นำมาทดสอบประสิทธิภาพการปกป้อง อวัยวะก่อนผ่าตัด ต่อมามีการศึกษาเพื่อนำสารตัวนี้มาใช้กับสกินแคร์และพบว่ามีประสิทธิภาพใน การปกป้อง เซลล์ผิวได้ดีกว่าสารต้านอนุมูลอิสระตัวอื่นๆ วิตามินซี อี โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) คิเนติน (Kinetin) และกรดอัลฟา ไลโปอิก (Alpha Lipoic Acid) เมื่อทาสารอีดีบีโนนก่อนออกแดดผลปรากฏว่าเซลล์ถูกทำลาย ลดลงประมาณ 38 เปอร์เซ็นต์

4. เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติบำรุงรอบดวงตา

สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : สารสกัดบริสุทธิ์จากมะนาวและสารสกัดจากมัลเบอร์รี่ , Purecell Whitening สาหร่ายทะเลเข้มข้น , D-Controxol สารสกัดจาก Hazelnut , สาร Anti Eastase ยับยั้ง enzyme ผิวชั้นใน เร่งการสลายตัวของเนื้อเยื่อยืดหยุ่นของผิว , สาร Skin Fiber ช่วยลบริ้วรอย และสารสกัดจากผิวส้มแมนดาริน ลดการบวมและการหมองคล้ำรอบดวงตา

5. ครีมกันแดด

สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : Dual Shaped Zinc Oxide , Mexoryl SX , Mexoryl XL , Octyl Triazone , Ethylhexyl oxyphenol , Methoxyl phenyl Triazine, Diethylhexyl Butamido Triazone
การพัฒนาครีมกันแดดอย่างต่อเนื่อง
ครีม กันแดดปัจจุบันช่วยป้องกันรังสียูวีเอและรังสียูวีบี ในอนาคตจะพัฒนาให้สามารถป้องกันรังสียูวีซี(รังสีที่ใช้สำหรับสเตอริไลซ์ เครื่องมือแพทย์) โอโซนที่กรองรังสีจะทำลายไปมากทำให้รังสีนี้สามารถลอดผ่านมาได้

6. เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติฟื้นฟูสภาพผิว (Skin Renewal)

สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : Plantolin (สารสกัดจากธรรมชาติ) เร่งการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว


7. เครื่องสำอางที่มีคุณสมบัติขจัดเซลลูไลท์ไขมันส่วนเกินต้นขาและสะโพก

สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : Marronler Extract และ Chrysanthellum Indicum , สมุนไพร Forskolin จากอินเดีย , เมล็ด Brazillian Guarana , ชาดำ Chinese Black Tea จากจีนผสมกับ Creatine และ Carnitine เพิ่มการเผาผลาญไขมัน และ Conjurgated Linoleic Acid เพิ่มความแข็งแรงและพยุงผิว ผงโกโก้จากช็อกโกแล็ตผสมกับ Wondershape Complex , คาเฟอีน , จิงโก ไบโลบ้า , โคลานัท , จินเซง , สารสกัดน้ำแร่ธรรมชาติ และผิวส้ม


8. เกลือขัดผิว

สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : White Sugar , Brown Sugar และ Dead Sea Salts ช่วยขจัดเซลล์ผิวเก่า ๆ ให้หลุด Olive และ Jojoba oil ให้ความชุ่มชื่น Ginger ช่วยเพิ่มพลังงาน สร้างความกระปรี้กระเปร่า


9. ครีมขัดผิว

สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : ผงเพชร ไข่มุกน้ำจืด แร่คริสตัลควอทซ์บดละเอียด สารสกัดจากธรรมชาติ วิตามินซีและอี และ Exclusive cellular complex


10. น้ำแร่

สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : น้ำแร่ มีคุณสมบัติในการเสริมการปกป้องผิวตามธรรมชาติ และช่วยให้ความชุ่มชื่นกับผิว บรรเทาการระคายเคือง ประกอบด้วยเกลือแร่ และแร่ธาตุต่างๆ เช่น Calcium , Magnesium , Iron , Potassium , Bromium , Sulfate , Sodium , Aluminium , Lithium และ Strontium



11. เครื่องสำอางปัดขนตา (Mascara)
สารสำคัญที่นิยมใช้ในปัจจุบัน : ขี้ผึ้งเหลว non-ionic และ cationic polymer เคลือบด้วย Anionic polymer




อ้างอิง http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=pattani&month=07-09-2007&group=40&gblog=24

นวัตกรรมอาหาร

 นวัตกรรมส้มตำสำเร็จรูป
 
ภาพประกอบ
‘Thai Smile’ ส้มตำกึ่งสำเร็จรูป นวัตกรรมอาหารไทยเขย่าครัวโลก
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด


‘Thai Smile’ ส้มตำกึ่งสำเร็จรูป นวัตกรรมอาหารไทยเขย่าครัวโลก

ส้มตำกึ่งสำเร็จรูป ‘Thai Smile’


      “ ส้มตำ” ไม่ใช่เพียงเมนูยอดฮิตแค่คนไทยเท่านั้น ชาวต่างชาติอีกจำนวนมากที่นิยมอาหารไทยต่างหลงใหลเมนูนี้เช่นเดียวกัน ทว่า ในต่างประเทศจะหากินได้ยากเต็มที ยิ่งเป็นส้มตำรสชาติต้นตำรับวัตถุดิบสดใหม่ด้วยแล้ว โอกาสจะได้สัมผัสแทบจะเป็นไปไม่ได้

       ทว่า จากฝีมือเอสเอ็มอีไทย อย่างบริษัท พรทวีโสภณ จำกัด สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ของการแปรรูปอาหารสำเร็จ ด้วยเทคโนโลยีอบแห้งระบบเตาอบสุญญากาศ ซึ่งคุณสมบัติแปรรูปอาหารได้ทุกชนิด โดยไม่สูญเสียรสชาติ นอกจากนั้น สามารถเก็บไว้ได้ในอุณหภูมิปกตินานนับปี ถือเป็นผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในประเทศ ช่วยพาครัวไทยไปสู่ครัวโลกอย่างเป็นรูปธรรม และที่สำคัญมีส่วนเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตการเกษตรไทยด้วยวัตถุดิบบรรจุในซองสุญญากาศ

     วิริยา พรทวีวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ เผยว่า วัตถุประสงค์เริ่มแรก อยากช่วยเหลือเกษตรกร แก้ปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำในฤดูกาลที่ออกมากจนล้นตลาด ซึ่งการแปรรูปถือเป็นคำตอบสุดท้ายของปัญหาดังกล่าว

 ข้าวเหนียวทุเรียนกึ่งสำเร็จรูป


       ทั้งนี้ การแปรรูปโดยวิธีอบแห้งนั้น มี 4 วิธีหลัก ได้แก่ 1.ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ (Sun dry) วิธีนี้ประหยัด แต่มีโอกาสปนเปื้อนสูง เช่น การทำกล้วยตาก 2. ใช้เตาอบความร้อน (Heat pump) วิธีนี้ยังเสี่ยงต่อการปนเปื้อน อีกทั้ง ผลผลิตที่ได้มีสีคล้ำเข้ม และแห้งแข็งกระด้าง ผลไม้บางชนิดไม่สามารถแปรรูปได้ 3.แช่แข็งระบบสุญญากาศ (Vacuum freeze dry) วิธีนี้ใช้แพร่หลายประเภทอาหารแช่แข็งทั่วไป ทว่า มีข้อจำกัดที่เครื่องจักรราคาสูง และการนำไปแช่แข็งส่งผลต่อรสชาติอาหาร และ 4.ใช้เตาอบสุญญากาศ (Vacuum dry) วิธีนี้เมื่อแปรรูปแล้วผลผลิตยังใกล้เคียงธรรมชาติ ทั้งรูปทรง รสชาติ และคุณค่าโภชนาการ ทว่า มีข้อเสียที่ต้นทุนผลิตสูง โดยเฉพาะราคาเตาอบสูงมากเตาอบสุญญากาศ ฝีมือคนไทย

     “ บริษัทตัดสินใจ เลือกระบบเตาอบสุญญากาศ เพราะยังไม่ผู้ผลิตรายใดในประเทศทำเลย อีกทั้ง รักษาคุณภาพของผลผลิตได้ดีกว่าทุกระบบ แต่หากเราจะลงทุนซื้อเครื่องจักรต่างประเทศ จะเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมาก กว่า 80 ล้านบาท ดังนั้น บริษัทจึงคิดพัฒนาเครื่องจักรด้วยตัวเอง โดยมีทีมวิศวกรรมเครื่องจักร และวิทยาศาสตร์อาหาร ทำการวิจัยและพัฒนาร่วมกับสถาบันการศึกษาต่างๆ กว่าจะสำเร็จสมบูรณ์ใช้เวลากว่า 5 ปี”
แน็คทุเรียน อีกผลิตภัณฑ์ของเอสเอ็มอีรายนี้



ผลไม้อบแห้งที่ผ่านกระบวนการแล้ว


       สำหรับ หลักการทำงาน ของแปรรูปด้วยเตาอบสุญญากาศ อธิบายง่ายๆ คือ การนำน้ำหรือความชื้นออกจากผลผลิต เพื่อจะถนอมอายุได้ยาวนานกว่า 1 ปี และหากต้องการให้คืนรูปเดิม เพียงแค่นำไปแช่น้ำ เพื่อคืนความชื้น ผลผลิตก็จะกลับคืนสภาพเดิมก่อนอบแห้ง ซึ่งผลผลิตน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เมื่ออบแห้งออกมาแล้วจะเหลือน้ำหนักเพียง 4 ขีดเท่านั้น
      
       แม้หลักการจะดูเรียบง่ายมาก แต่ในทางปฏิบัติมีรายละเอียดที่สลับซับซ้อนสูง ดังนั้น กว่าจะสำเร็จจึงใช้เวลาวิจัยและพัฒนายาวนานกว่า 5 ปี



พืชสมุนไพรอบแห้ง เน้นส่งเข้าโรงงานอาหารแปรรูปต่างๆ


       เจ้าของธุรกิจ เผยต่อว่า เริ่มทดลองตลาดเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว โดยนำผลไม้ไทยอบแห้ง เช่น ลำไย ลิ้นจี้ เงาะ ทุเรียน ฯลฯ ไปออกโรดโชว์ที่ประเทศจีน ซึ่งได้ผลการตอบรับด้วยดี เพราะผลไม้ที่แปรรูปด้วยวิธีนี้ จะรักษาความฉ่ำหวานและรสชาติสดใหม่ได้ดีกว่า และที่สำคัญไม่ใส่สารเคมีป้องกันเน่าเสียใดๆ ทั้งสิ้น



ทีมวิจัยของบริษัท


       ตามด้วยการพัฒนาสินค้าแปรรูปพืช สมุนไพรต่างๆ เช่น ต้นหอม ขิง ตะไคร่ พริก กระเทียม ฯลฯ โดยสินค้ากลุ่มนี้เน้นส่งเข้าโรงงานอาหารแปรรูปต่างๆ อีกทั้ง แปรรูปผลไม้ต่างๆ เป็นขนมกินเล่นแบบสแน็คส์ (Snacks) ได้แก่ ทุเรียนสแน็คส์ และล่าสุดคือ แปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป ประเดิมด้วย 2 เมนู คือ ส้มตำ และข้าวเหนียวทุเรียน ภายใต้ชื่อแบรนด์ “Thai Smile”

ขั้นตอนแรก เติมน้ำลงไป


       “ เรามีจุดยืน อยากจะพาครัวไทยไปกระจายสู่ทั่วโลก ดังนั้นการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูป จึงมีโอกาสที่จะเปิดตลาดได้กว้างกว่าส่งแค่วัตถุดิบ โดยจุดขายจะเน้นนำเสนอความเป็นอาหารไทยที่ชาวต่างชาติชื่นชอบอยู่แล้ว และการแปรรูปด้วยวิธีอบแห้งสุญญากาศ มีคุณสมบัติเด่นสามารถเก็บไว้ได้ในอุณหภูมิปกติ ช่วยให้การขนส่ง เพื่อส่งออก ทำได้ง่ายและประหยัดกว่าอาหารแปรรูปแช่แข็ง”
นำเข้าเตาไมโครเวฟ
 


ผักต่างๆ จะคืนรูปเดิม
      

นำผักมาคลุกเคล้ากับน้ำปรุงรสส้มตำ
      

ได้เป็นส้มตำสมบูรณ์แบบ


      ส่วน ข้าวเหนียว ทุเรียนนั้น นำข้าวเหนียวและทุเรียนอบแห้งเติมน้ำ แล้วนำเข้าไมโครเวฟ 2.5 นาที จากนั้นรินน้ำจากถ้วยลงในถ้วยที่ใส่ผงกะทิทุเรียนแล้วคนให้เข้ากัน จากนั้น นำกลับมาเติมในถ้วยข้าวเหนียว ก็จะได้ข้าวเหนียวกะทิพร้อมกิน




ข้าวเหนียว ขั้นตอนแรก ต้องเติมน้ำเช่นกัน
      


จากนั้นเข้าเตาไมโครเวฟ


รินน้ำออก เปิดฝาก็จะได้ข้าวเหนียว พร้อมเนื้อทุเรียนที่คืนรูปแล้ว


นำน้ำกะทิมาเทกลับ เป็นอันเสร็จขั้นตอน


       เจ้าของธุรกิจ ทิ้งท้ายว่า ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานประมาณ 50 คน มีฐานการผลิตโรงงานอยู่ที่ จ.ลำพูน ส่วนวัตถุดิบการเกษตรต่างๆ จะรับซื้อจากทั่วประเทศ คัดเฉพาะสินค้าเกรดเอ ปลูกโดยปลอดสารพิษ วางเป้าหมายไว้จะผลิตได้ประมาณ 2 แสนกิโลกรัมต่อปี ในระยะเวลา 3 ปี และสามารถคืนเงินลงทุนได้ในเวลา 2-3 ปีเช่นกัน

อ้างอิง http://atcloud.com/stories/62271

นวัตกรรมยานยนต์


1.รถยนต์คันแรกของโลกซึ่งมีชื่อว่า “เบนซ์ มอเตอร์วาเก้น”
       ข่าวต่างประเทศ- วันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1886 เป็นวันครบรอบที่ "คาร์ล เบนซ์"  ได้จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์คิดค้นรถยนต์คันแรกของโลกซึ่งมีชื่อว่า “เบนซ์ มอเตอร์วาเก้น” บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมฉลองโกลบอลแคมเปญ “125! Years of innovation” ในโอกาสครบรอบ 125 ปีที่รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลก พร้อม มุ่งสร้างสรรค์อนาคตแห่งการขับเคลื่อนและตอกย้ำความเป็นผู้นำแห่งนวัตกรรม ยานยนต์อันเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ครองความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของตลาดรถยนต์หรูมากว่าศตวรรษ
       ศาสตราจารย์ ดร. อเล็กซานเดอร์ เพาฟเลอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในปี 2011 นี้ เป็นปีสำคัญที่เดมเลอร์ เอจี ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ในประเทศเยอรมนีจะจัดงานครบรอบ 125 ปี รถยนต์เมเซอร์เดส-เบนซ์ที่คาร์ล เบนซ์ ได้จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์คิดค้นรถยนต์คันแรกของโลกซึ่งมีชื่อว่า “เบนซ์ มอเตอร์วาเก้น” เมื่อวันที่ 29 มกราคม ค.ศ. 1886 ทำให้วันนี้ของทุกปีกลายเป็นวันสำคัญในฐานะวันถือกำเนิดรถยนต์คันแรกของโลก
1.ศาสตราจารย์ ดร. อเล็กซานเดอร์ เพาฟเลอร์ ประธานบริหาร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
       แคมเปญเฉลิมฉลองการครบรอบในครั้งนี้สะท้อนถึงความมุ่งมั่น ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ในการเป็นผู้นำด้วยความเชื่อมั่นและสไตล์ที่เป็นบทพิสูจน์ในตัวเอง โดยได้ผสานทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคตของแบรนด์เราในแบบที่เรียบง่าย แต่สื่อสารได้อย่างชัดเจนว่า
1.คาร์ล เบนซ์ ได้จดสิทธิบัตรในการประดิษฐ์คิดค้นรถยนต์คันแรกของโลกซึ่งมีชื่อว่า “เบนซ์ มอเตอร์วาเก้น”
       "เราได้คิดค้นรถยนต์ขึ้นเมื่อ 125 ปีที่แล้ว เรายังคงคิดค้นอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อนำเสนอนวัตกรรมยานยนต์ใหม่ๆ อย่างไม่ขาดสาย และเราจะยังรักษาบทบาทสำคัญในการกำหนดอนาคตแห่งการขับเคลื่อนที่ยั่งยืนด้วย การเป็นผู้นำนวัตกรรม โดยเราจะมุ่งตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมยานยนต์ใน 5 ด้าน ได้แก่ ผู้นำนวัตกรรมด้านการผลิตรถยนต์ ผู้นำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยียนตรกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ผู้นำนวัตกรรมด้านความปลอดภัย ผู้นำนวัตกรรมด้านความสะดวกสบาย และผู้นำนวัตกรรมด้านดีไซน์”
       ผู้นำนวัตกรรมด้านการผลิตรถยนต์ ซึ่ง ถือเป็นหัวใจที่นำไปสู่ความสำเร็จและเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เมอร์เซเด ส-เบนซ์ มีบทบาทสำคัญสู่การเป็นผู้นำในการคิดค้นและพัฒนาเครื่องยนต์ หากไร้ซึ่งนวัตกรรมแล้ว รถยนต์ของเราก็จะไร้ซึ่งการพัฒนาโดยสิ้นเชิง หนึ่งในนวัตกรรมที่มีความสำคัญที่สุดของบริษัท ได้แก่ รถยนต์สมัยใหม่คันแรกรุ่น เมอร์เซเดส 35 HP ซึ่งวางจำหน่ายในเดือนกุมภาพันธ์ ของปี ค.ศ. 1900 รถยนต์รุ่นนี้ถือเป็นต้นแบบของรถยนต์ส่วนบุคคลที่ใช้กันอยู่จวบจนปัจจุบัน โดยมีการใช้หลักการติดตั้งเครื่องยนต์ตรงส่วนหน้ารถและขับเคลื่อนด้วยแรงส่ง ของล้อด้านหลังสองล้อ อันเป็นแบบแผนทั่วไปของเลย์เอ้าท์สำหรับรถยนต์ที่มีการผลิตใช้กันมาอย่างยาว นาน นอกจากนี้รถยนต์รุ่นเมอร์เซเดส 35 HP ยังเป็นยานพาหนะคันแรกที่ส่งให้แบรนด์เมอร์เซเดสกลายเป็นตำนานในหน้าประวัติ ศาสตร์ยานยนต์ในฐานะแบรนด์รถยนต์สมัยใหม่แบรนด์แรกของโลก
1.เมอร์เซเดส-เบนซ์ ผู้นำนวัตกรรมยานยนต์ใน 5 ด้านได้แก่ Innovation, Technological Leadership, Safety, Comfort และ Design
       ผู้นำนวัตกรรมด้านเทคโนโลยียนตรกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม เมอร์เซเดส-เบนซ์เป็นแบรนด์รถยนต์ที่เป็นผู้นำอุตสาหกรรมยานยนต์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างยานพาหนะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในแง่ของความพยายามใช้พลังงานทางเลือก เมอร์เซเดส-เบนซ์แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในด้านนี้มาตั้งแต่ปี 1906 โดยได้มีการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยี Hybrid จากพลังงานแบตตารี่อิเล็คทรอนิคมาใช้ควบคู่กับน้ำมันเชื้อเพลิง ในช่วงปลายทศวรรษ 60 ความก้าวหน้าในการพัฒนาพลังงานทางเลือกเดินทางมาถึงจุดที่มีความหลากหลายและ น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีการทดสอบเชื้อเพลิงทางเลือกมากมาย อาทิ ก๊าซธรรมชาติ เชื้อเพลิงที่มีสารต้นเป็นแอลกอฮอล์ และไฮโดรเจน ในปี 1994 เมอร์เซเดส-เบนซ์ได้ช็อควงการยานยนต์ครั้งสำคัญด้วยการเปิดตัว NECAR 1 ซึ่งเป็นรถเซลล์เชื้อเพลิงรังผึ้ง หรือ Fuel Cell จนล่าสุดในปี 2010 อิเล็คทริคคาร์ที่ใช้พลังงานจากแบตตารี่ก็ถือกำเนิดขึ้นพร้อมกันถึง 3 รุ่น A-Class E-Cell, Vito E-Cell และ B-Class F-Cell โดยการสร้างสรรค์รถยนต์ในซีรีส์ต่างๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้นนำมาซึ่งแนวคิด BlueEFFICIENCY ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ทางเมอร์เซเดส-เบนซ์นำมาปรับใช้กับการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพทางด้านสมรรถนะและความรับผิดชอบที่มีต่อสภาพแวดล้อม และทรัพยากรของโลกเข้าด้วยกัน
      
       ผู้นำนวัตกรรมด้านความปลอดภัย นับ ตั้งแต่ประดิษฐกรรมยานยนต์ได้ถูกสรรค์สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1886 เมอร์เซเดส-เบนซ์มุ่งมั่น สานต่อความทุ่มเทด้านการพัฒนาความปลอดภัยอย่างจริงจังมาโดยตลอด โดยบริษัทของเรามีพันธกิจหลักในการ ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ให้เป็นศูนย์ ดังนั้นนวัตกรรมชั้นนำต่างๆ ที่เราเริ่มต้นบุกเบิกขึ้นจึงได้กลายเป็น บรรทัดฐานในการสร้างมาตรฐานความปลอดภัยให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ อาทิ ส่วนที่นั่งสำหรับผู้โดยสารซึ่งได้รับ สิทธิบัตรในปี 1951, ระบบเบรค ABS ระบบเบรคป้องกันล้อล็อคในปี 1978, ถุงลมนิรภัยที่นำมาใช้ตั้งแต่ปี 1981 รวมไปถึงระบบทรงตัว อัตโนมัติ ESP®(Electronic Stability Program) ในปี 1995 และระบบปกป้อง PRE-SAFE® ในปี 2002 โดยจะเห็น ว่านวัตกรรมเหล่านี้กลายเป็นอุปกรณ์มาตรฐานของผู้ผลิตรถยนต์ทั่วไปใน ปัจจุบัน
      
       ผู้นำนวัตกรรมด้านความสะดวกสบาย ความสบายที่ เหนือกว่าคือการเป็นเจ้าของโซลูชั่นเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้ผู้ขับขี่ สามารถโลดแล่นอยู่บนถนนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในปี 2003 ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการยานยนต์ถูกเขียนขึ้นอีกครั้งเมื่อบริษัทได้ พัฒนาเกียร์แบบ ออโตเมติค 7 สปีดและนำมาใช้กับรถยนต์นั่งโดยสารรุ่นต่างๆ มากมาย อาทิ E 500, S 430, S 500, CL 500 และ SL 500 V8 เป็นครั้งแรกของโลก โดยเกียร์ชนิดนี้พลิกโฉมการขับขี่ให้เกิดความสบายสูงสุดในการควบคุม ช่วยให้การทำงานประสานกับเครื่องยนต์เป็นไปได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และล่าสุดในปี 2010 เกียร์ออโต้ 7 สปีดนี้ก็ได้รับการพัฒนาให้เป็นเจนเนอเรชั่นใหม่ที่เรียกว่า 7G-TRONIC PLUS โดดเด่นด้วยเทคโนโลยี Torque converter และใช้กับรุ่นท็อปโมเดลอย่าง CL-Class และ S-Class คู่กับเครื่องยนต์แบบ BlueDIRECT
      
       ผู้นำนวัตกรรมด้านดีไซน์ ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการจำกัดนิยามของแบรนด์เมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งถือเป็นดีเอ็นเอที่แสดงออกผ่านทางสัญลักษณ์ดาวสามแฉกที่สะท้อนถึความ หมายในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ มีความทันสมัย รวมถึงคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัย และนวัตกรรมที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อาทิเช่น หลังช่วงสงครามโลกที่สอง เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้วางจำหน่ายรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ 300 SL หรือ “เบนซ์ปีกนกนางนวล (Gullwing)” สุดหรูที่ได้ชื่อว่าเป็นดีไซน์ไอคอนแห่งยุค แม้ในปัจจุบัน รถรุ่นนี้ยังเป็นที่ต้องการของสาวกเบนซ์ทั่วไปและได้รับการโหวตให้เป็น “รถสปอร์ตแห่งศตวรรษ” โดยคณะกรรมาธิการผู้เชี่ยวชาญด้านยานยนต์ในปี 1999 และหนึ่งในโมเดลที่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซีรีส์ “เบนซ์หางปลา (Fintail)” ที่ประกอบด้วยรุ่น 220, 220 S และ220 SE ในปี 1959 เป็นซีรีส์ที่มีความโดดเด่นด้านการออกแบบส่วนหลังของรถที่ทั้งสวยงามและให้ ความสะดวกเมื่อเข้าจอดในช่องจอดรถแคบๆ
      
1.นายฉัตวิทัย ตันตราภรณ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด
       ฉัตวิทัย ตันตราภรณ์ ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาดและสื่อสารองค์กร บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “สำหรับการเฉลิมฉลองโกลบอลแคมเปญ 125! Years of innovation” ถือเป็นการตอกย้ำแบรนด์เมอร์เซเดส-เบนส์ ในฐานะผู้สร้างประวัติศาสต์แห่งโลกยานยนต์มากว่า 125 ปี ในประเทศไทยนั้น บริษัทฯ จะมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอแบรนด์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ให้ดูก้าวล้ำนำสมัยอย่างต่อเนื่อง พร้อมนำเสนอยนตรกรรมรุ่นใหม่ๆ ที่เพียบพร้อมด้วยดีไซน์และเครื่องยนต์ใหม่ๆ แบบหลากหลายขึ้น เพื่อรองรับกับความต้องการของลูกค้า ด้วยองค์ประกอบด้านการออกแบบอันน่าหลงใหลและทันสมัย พร้อมด้วยคุณภาพอันเป็นเลิศ และมีมาตรฐานความปลอดภัยสูง และที่สำคัญต้องโดดเด่นในเรื่องสมรรถนะของรถด้วย นอกจากนั้นเราจะมีการจัดกิจกรรมตอบแทนลูกค้า ภายใต้โปรแกรมที่ชื่อว่า “Appreciation” เพื่อสร้างความสัมพันธ์และทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจสูงสุด รวมถึงการให้ความสำคัญกับบริการหลังการขาย และการพัฒนาระบบการบริหารจัดการในส่วนของศูนย์ซ่อมบำรุงและโชว์รูมของผู้ จำหน่ายรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานระดับสากล
1.สื่อสิ่งพิมพ์ที่ สื่อถึงความเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านยานยนต์มากว่า 125 ปี ตั้งแต่รถยนต์คันแรกของโลกซึ่งมีชื่อว่า “เบนซ์ มอเตอร์วาเก้น” จนมาถึง “F800” คอนเซปต์คาร์ ในปัจจุบัน   
     อ้างอิง http://www.manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9540000012283
 

ฝนเทียม : สิ่งประดิษฐ์ไทย

 ฝนเทียม : สิ่งประดิษฐ์ไทย
 
สารฝนหลวงในการปฏิบัติการทำฝนในประเทศไทย
          สารฝนหลวงที่ใช้ทำฝนหลวงในปัจจุบัน มีทั้งสิ้น 7 ชนิด บางชนิดมีคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้ดี (hygroscopic substances) บางชนิดมีคุณมบัติเป็นแกนกลั่นตัว (CCN) ของความชื้นในบรรยากาศ บางชนิดสามารถคายความร้อนออกมาเพื่อกระตุ้น หรือ เสริมการก่อตัวและ เจริญเติบโตของเมฆ บางชนิดสามารถดูดดึงความร้อนทำให้อุณหภูมิของอากาศหรือเมฆเย็นตัวลง เร่งการกลั่นตัวของไอน้ำและเสริมความหนาแน่น ของเมฆจนเกิดเป็นฝน การเลือกใช้สารฝนหลวงแต่ละชนิด จึงพิจารณาคุณสมบัติที่กล่าวข้างต้นกับสภาวะของเมฆหรือบรรยากาศในแต่ละวัน เป็นสำคัญ สารฝนหลวงที่ใช้แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
          สารฝนหลวงสูตรร้อน
          สารฝนหลวงสูตรร้อนมีคุณสมบัติเมื่อดูดซับความชื้นในอากาศ หรือทำปฏิกิริยากับน้ำะทำใหอุณหภูมิสูงขึ้น ใช้ในสภาพผงละเอียด สารฝนหลวงสูตรร้อนที่ ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
          1. สูตร6 แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride)
          2. สูตร8 แคลเซียมอ๊อกไซด์ (Calcium Oxide)
          สารฝนหลวงสูตรเย็น
          สารฝนหลวงสูตรเย็นมีคุณสมบัติเมื่อดูดซับความชื้นในอากาศ หรือทำปฏิกิริยากับน้ำ ทำให้อุณหภูมิลดลงหรือเย็นลง สารฝนหลวงสูตรเย็นที่ ใช้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ
          1. สูตร4 ยูเรีย (Urea)
          2. สูตร19 แอมโมเนียมไนเตรท (Ammonium Nitrate)
          3. สูตร 3 น้ำแข็งแห้ง (Dry Ice)
          สารฝนหลวงสูตรสร้างแกนกลั่นตัวของอากาศ
          สารฝนหลวงสูตรสร้างแกนกลั่นตัวของอากาศ มีคุณสมบัติเป็นแกนดูดซับความชื้นให้เข้ามาเกาะและกลั่นตัว กลายเป็นเม็ดน้ำจำนวนมาก สารฝนหลวงสูตรแกนกลั่นตัวที่ ใช้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ
          1. สูตร1 เกลือแป้ง (Sodium Chloride)
          2. สารฝนหลวง สูตรฝนหลวง ท1

เครื่องบินคิงแอร์
เครื่องบินคิงแอร์ เครื่องบินที่ใช้ทำฝนหลวง

การทำฝนจากเมฆอุ่น          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสรุปขั้นตอนกรรมวิธีการทำฝนจากเมฆอุ่น
          จากการที่ทรงติดตามผลการทดลอง ควบคู่กับปฏิบัติการ และทรงวิเคราะห์วิจัย จากรายงานผลการปฏิบัติการประจำวัน และรายงานของคณะปฏิบัติการ ที่ทรงบัญชาการด้วยพระองค์ ประกอบกับที่ทรงสังเกตสภาพกาลอากาศ และปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในท้องฟ้าทั้งในช่วงที่ มีปฏิบัติการทดลอง และไม่ปฏิบัติการอย่างใกล้ชิด รวมทั้งสนพระทัยศึกษาจากเอกสารวิชาการ จึงทรงสามารถพัฒนากรรมวิธี การทำฝนจากเมฆอุ่น อย่างก้าวหน้ามาตามลำดับจนทรงมั่นพระทัย จึงทรงสรุป ขั้นตอนกรรมวิธีในปี 2516 แล้วพระราชทานให้ใช้ เป็นหลักในการปฏิบัติการสืบเนื่องมาจนถึง พ.ศ. 2542 ซึ่งมี 3 ขั้นตอน คือ

Rainmaking Sandwich Technique
เทคนิคการโจมตีเมฆอุ่นแบบ Sandwich
          ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศขณะนั้นเพื่อเร่งหรือเสริมการเกิดและก่อรวมตัวของเมฆ ด้วยการก่อกวนสมดุล (Equilibrium) หรือเสถียรภาพ (Stability) ของมวลอากาศเป็นแห่ง ๆ โดยการโปรยสารเคมีประเภทดูดความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (Exothermic chemicals) ในท้องฟ้าที่ระดับใกล้เคียงกับระดับกลั่นตัวเนื่องจากการไหลพาความร้อนในแนว ตั้ง (Convective condensation level) ซึ่งเป็นระดับฐานเมฆของแต่ละวัน และโปรยสารเคมีประเภทที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง (Endothermic chemicals) ที่ระดับสูงกว่าระดับฐานเมฆ 2,000-3,000 ฟุต ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เกิดเมฆเร็วขึ้นและปริมาณมากกว่าที่เกิดตามธรรมชาติ โดยเริ่มก่อกวนในช่วงเวลาเช้าทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมายหวังผลที่วาง แผนกำหนดไว้ในแต่ละวัน
          ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศและเมฆขณะนั้น เพื่อเร่งหรือเสริมการเจริญก่อตัวของเมฆให้ขนาดใหญ่และหนาแน่นยิ่งขึ้นด้วย การกระตุ้นหรือเร่งการเจริญเติบโตของก้อนเมฆที่ก่อตัวแล้วให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งฐานเมฆและยอดเมฆขนาดหยดน้ำใหญ่ขึ้นและปริมาณน้ำในก้อนเมฆมากขึ้น จนหนาแน่นเร็วกว่าที่จะปล่อยให้เจริญเองตามธรรมชาติ ด้วยการโปรยสารเคมีประเภทที่เมื่อดูดซับความชื้นแล้วทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง ที่ระดับฐานเมฆหรือทับยอดเมฆ หรือระหว่างฐานและยอดเมฆโดยบินโปรยสารเคมีเข้าสู่ก้อนเมฆโดยตรง หรือโปรยรอบ ๆ และระหว่างช่องว่างของก้อนเมฆทางด้านเหนือลมให้กระแสลมพัดพาสารเคมีเข้าสู่ ก้อนเมฆ หรือโปรยสารเคมีสูตรร้อนสลับสูตรเย็นในอัตราส่วน 1:4 ทับยอดเมฆทั่วบริเวณที่เกิดสภาพเมฆที่มีความหนา 2,000-3,000 ฟุต ปกคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง หรือที่บริเวณพื้นที่ใต้ลมของบริเวณที่เริ่มต้นก่อกวน ทั้งนี้สุดแล้วแต่สภาพของเครื่องบิน ภูมิอากาศ และอากาศขณะนั้นจะอำนวยให้
          ขั้นตอนที่ 3 โจมตี เป็นการดัดแปรสภาพอากาศในก้อนเมฆที่รวมตัวหนาแน่นแล้วโดยตรง หรือบริเวณใต้ฐานเมฆ หรือบริเวณที่ต้องการชักนำเมฆฝนที่ตกอยู่แล้วเคลื่อนเข้าสู่เป็นการบังคับ หรือเหนี่ยวนำให้เมฆที่แก่ตัวจัดแล้วตกเป็นฝนลงสู่พื้นที่เป้าหมายหวังผลที่ วางแผนกำหนดไว้ โดยบินโปรยสารเคมีประเภทที่ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลงเข้าไปในเมฆโดยตรงที่ฐานเมฆ หรือยอดเมฆ หรือที่ระดับระหว่างฐานเมฆและยอดเมฆชิดขอบเมฆทางด้านเหนือลม หรือใช้เครื่องบิน 2 เครื่อง โปรยพร้อมกันแบบแซนวิตช์(Sandwich)
การทำฝนจากเมฆเย็น          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้มีการวิจัยและพัฒนาการทำฝนจากเมฆเย็น
          เนื่องจากการวิจัยพัฒนาและปฏิบัติการฝนหลวงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน เป็นการดัดแปรสภาพอากาศจากเมฆอุ่นเท่านั้น เนื่องจากเครื่องบินที่ได้รับจัดสรรให้ใช้เป็นเครื่องบินที่ไม่มีระบบปรับ ความดันอากาศ ไม่ปลอดภัยที่จะบินขึ้นสูงกว่าระดับ 10,000 ฟุต แต่ในการปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศจากเมฆอุ่นนั้น ยอดเมฆสามารถเจริญขึ้นถึง 25,000 ฟุต หรือมากกว่านั้น ฉะนั้น กลุ่มเมฆนั้นจึงเป็นเมฆผสม (Mixed Cloud) ของเมฆอุ่น (Warm Cloud) และเมฆเย็น (Cold Cloud) ส่วนของเมฆตั้งแต่ระดับฐานเมฆจนถึงประมาณ 18,000 ฟุต เป็นส่วนของเมฆอุ่น (Warm Cloud) มีอุณหภูมิในเมฆสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส ส่วนของเมฆตั้งแต่ระดับประมาณ 18,000 ฟุตขึ้นไป มีอุณหภูมิในเมฆต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียสเป็นส่วนของเมฆเย็น (Cold Cloud)

          ได้พระราชทานแนวคิดแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เมื่อ พ.ศ. 2515 ให้หาลู่ทางวิจัยและประดิษฐ์เครื่องยิงสารเคมีจากเครื่องบินแบบที่ไม่มีระบบ ปรับความดันต่อจากระดับบิน 10,000 ฟุต ให้สูงเข้าไปในส่วนของเมฆเย็นดังกล่าว ให้เกิดฝนตกจากเมฆเย็นลงมาสมทบกับเมฆอุ่นเพื่อให้ปริมาณน้ำฝนในก้อนเมฆนั้น เพิ่มมากขึ้น ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงร่วมมือกับกรมสรรพาวุธทหารบกเริ่มลงมือทำการวิจัยประดิษฐ์เครื่องยิงสาร เคมีจากเครื่องบินและจรวดจากทางพื้นดิน แต่หยุดกิจกรรมนี้เมื่อ พ.ศ.2516 เนื่องจากฝ่ายกรมสรรพาวุธทหารบกติดภารกิจเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ
Rainmaking photoRainmaking photoRainmaking photo

จรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมียิงจากพื้นดินเข้าสู่ก้อนเมฆ
          สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงในขณะนั้นได้พยายามสานต่อพระราชดำรินี้ โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสภาวิจัยแห่งชาติ จัดตั้งเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาจรวดฝนเทียมทำการวิจัยและประดิษฐ์จรวดต้น แบบขึ้นมาทำการยิงทดสอบและพัฒนาเพื่อให้สามารถยิงสารเคมีเข้าไประเบิดในเมฆ ที่ ทั้งระดับเมฆอุ่นและเมฆเย็น  ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 เป็นต้นมา การวิจัยและพัฒนาจรวดได้ก้าวหน้ามาตามลำดับจนถึงปี 2530 สามารถบรรจุสารเคมียิงเข้าไประเบิด ในเมฆอุ่นที่ระดับสูงเกินกว่าฐานเมฆได้ผลพอที่จะนำเข้าใช้ในปฏิบัติการจริง ได้แล้วและกำลังพัฒนาขีดความสามารถให้เข้าไประเบิดที่ระดับสูงเกิน 10,000 ฟุตขึ้นไปจนถึงระดับเมฆเย็น แต่เป็นที่น่าเสียดายที่โครงการดำเนินการไปอย่างก้าวหน้าได้ระงับไปแล้วใน ปัจจุบัน
          สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงมิได้หยุดยั้งในการค้นหาลู่ทางที่จะดัดแปรสภาพ อากาศให้เกิดฝนจากเมฆเย็น จนกระทั่งในปี 2531ได้เกิดโครงการวิจัยทรัพยากรบรรยากาศประยุกต์ ซึ่งเป็นโครงการร่วมมือระหว่างรัฐบาลสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลไทย ทำการศึกษา วิจัย และทดลองโดยการยิงสารเคมีซิลเวอร์ไอโอไดด์ (Agl) จากเครื่องบินปรับความดันอากาศ (King air B-350) สามารถบินขึ้นได้สูงถึง 35,000 ฟุตเข้าไปกระตุ้นกลไกการเปลี่ยนสถานะของเหลว (เย็นจัด) ของหยดน้ำ (Cloud droplets) ให้เป็นผลึกน้ำแข็ง (ice crystals) ร่วงหล่นลงมาละลายสมทบกับหยดน้ำในเมฆอุ่นเกิดเป็นฝนตกปริมาณหนาแน่นยิ่งขึ้น ในช่วงแรกตั้งแต่ 2531-2534 เป็นการเตรียมและพัฒนาโครงการ จนพร้อมทำการปฏิบัติการทดลองในปี 2534-2537 จากการวิเคราะห์ ผลการปฏิบัติการทดลองเบื้องต้น สามารถเพิ่มปริมาณ น้ำฝนได้สูงกว่าธรรมชาติถึง 125% เพิ่มพื้นที่รองรับฝนที่ตกได้ถึง 71% และทำให้ฝนตกยาวนานขึ้น 33%อย่างไรก็ดีการวิจัยและพัฒนายังคงดำเนินการต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2542 เพื่อให้สามารถยืนยันผลในทางสถิติได้แน่นอนยิ่งขึ้น ก่อนที่จะนำเข้าสู่การปฏิบัติการหวังผลต่อไป
          อย่างไรก็ดี พระราชดำริดังกล่าวได้บรรลุผลสมพระราชประสงค์ได้ในระดับหนึ่งแล้ว

Commander
เครื่องบินเช่าแอโรคอมมานเดอร์ เป็นเครื่องบินวิจัยเมฆฟิสิกส์ในระยะแรกเริ่มการทดลองทำฝนจากเมฆเย็น

Beechcraft King air
เครื่องบินวิจัยเมฆฟิสิกส์ (Beechcraft King air ; B-350) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 

อ้างอิง  http://www4.eduzones.com/jade/3512

pop-up คืออะไร

pop-up คืออะไร

หนังสือเด็กป๊อบอัพสามมิติ นิทาน pop-up จะทำให้โลกของหนังสือไม่ใช่โลกแบนๆสำหรับเด็กอีกต่อไป

เด็กๆ จะตื่นตาตื่นใจ ไปกับสิ่งต่างๆที่ลอยออกมาจากในหนังสือ มีสีสันสดใส ระบบกลไกของหนังสือจะสร้างความเคลื่อนไหวของตัวละครต่างๆได้ ช่วยเสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กๆ เพิ่มทักษะทางด้านภาษา อีกทั้งยังช่วยให้พ่อแม่สร้างกิจกรรมความอบอุ่นผูกพันให้แก่ลูกน้อยของคุณ 

หนังสือ 3 มิติ พิมพ์ด้วยกระดาษแข็งเคลือบมันอย่างดี บางเล่มจะเป็นบทร้อยกรองภาษาอังกฤษ คำบรรยายภาษาไทย สั้นๆ ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กเล็กที่ยังไม่พร้อมสำหรับเรื่องยาวๆ

ตัวอย่างการสร้างหนังสือสามมิติ

การสร้างงานประดิษฐ์
กระดาษชุดการสอนหนังสือภาพสามมิติ


เรื่อง
ภาษาอังกฤษกับชีวิตประจำวัน

หน้าหลัก

Book Pop 1
Book Pop 2
Book Pop 3
Book Pop 4
Book Pop 5
Book Pop 6
Book Pop 7
Book Pop 8
Book Pop 9
Book Pop 10

การสร้างงานประดิษฐ์หนังสือภาพสามมิติ

 - อุปกรณ์
 - ขั้นตอนการทำ
อุปกรณ์ :
1. กระดาษรองตัด  (Cutter mat)  




2. กรรไกร




3.ที่เย็บกระดาษ (Stap)     




4. ไม้บรรทัดเหล็กขนาดเล็ก




5. คัดเตอร์ (Cutter)




6. ปากกาลูกลื่น




7. ดินสอสี ปากกาสี หรือสีเมจิก  สีโปสเตอร์




8. กาว




9. กระดาษ เทา- ขาว




10. กระดาษสา




11. กระดาษชั้น
อ้างอิง http://sites.google.com/site/panunyaj/